โหวตนายก- “สุทิน”เสนอชื่อ “พิธา”เป็นนายกฯ-รสทช. ลุกขึ้นแย้งผิดข้อบังคับ 41 ยื่นญัตติซ…

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 19 ก.ค. 2566 การประชุมรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุมมีวาระสำคัญในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคล ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ซึ่งถือเป็นการพิจารณาเป็นครั้งที่ 2 หลังการประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมรัฐสภา มีมติไม่ให้ความเห็นชอบ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรีไปแล้ว

แต่ทันทีที่เข้าสู่การประชุม นายสุทิน คลังแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะ 8 พรรครวมจัดตั้งรัฐบาล ได้เสนอชื่อ "นายพิธา" ให้ที่ประชุมรัฐสภา พิจารณาขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นครั้งที่ 2 เพียงรายชื่อเดียว โดยไม่มีพรรคการเมืองอื่นเสนอบุคคลอื่นชื่อท้าชิง

ทำให้นายอัครเดช วงศ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส.ราชบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ ลุกขึ้นทักท้วง เนื่องจาก ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อที่ 41 ระบุว่า ญัตติใดที่ตกไปแล้ว ห้ามนำเสนอขึ้นใหม่ในสมัยประชุมเดียวกัน เว้นแต่ญัตติที่ยังไม่ได้มีการลงมติ ซึ่งในการประชุมรัฐสภาที่ผ่านมา รัฐสภา เคยมีมติไม่ให้ความเห็นชอบเป็นนายกรัฐมนตรีมาแล้ว ซึ่งญัตติการเสนอชื่อนายพิธาดังกล่าว จึงถือเป็นอันตกไป และการเสนอชื่อนายพิธา ซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ก็ไม่มีเหตุการณ์อื่นใดเปลี่ยนแปลงไป อาจจะขัดต่อข้อบังคับการประชุมรัฐสภาได้ พร้อมเสนอญัตติให้พิจารณาว่า การเสนอชื่อนายพิธา ขัดต่อข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อที่ 41 หรือไม่

ด้าน นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา สนับสนุนให้ที่ประชุมได้อภิปราย ประมาณ 2 ชั่วโมงก่อนลงมติ ตามที่ที่ประชุมพรรคการเมือง และคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา หรือ วิปวุฒิสภา หารือไว้เมื่อวานนี้ (18 ก.ค.) เพื่อไม่ให้ประธานรัฐสภาต้องวินิจฉัย

ขณะที่ นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้เห็นแย้ง เนื่องจาก กระบวนการเลือกนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการไปตามรัฐธรรมนูญบัญญัติแล้ว จึงขอให้ประธานรัฐสภาวินิจฉัย รวมถึงนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล มั่นใจว่า การพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ญัตติ แต่เป็นข้อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อที่ 136

เช่นเดียวกับ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ได้ประท้วงเนื่องจาก ระหว่างที่รัฐสภาพิจารณาข้อเสนอเสมือนญัตติตามรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถเสนอญัตติอื่น ๆ ซ้อนได้ ซึ่งขัดต่อข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อที่ 31 และจะทำให้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ไปขัดต่อกระบวนการรัฐธรรมนูญไม่ได้ ทำให้นายอัครเดช ลุกขึ้นตอบโต้ว่า กรณีที่นายจุลพันธ์ ระบุว่า ไม่สามารถพิจารณาญัตติ ซ้อนญัตติได้นั่นหมายความว่า ได้ยอมรับแล้วว่า การเสนอชื่อนายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นญัตติ โดยนายจุลพันธ์ เห็นว่า กระบวนการที่จะต้องดำเนินการหลังจากนี้ รัฐสภา ควรจะใช้เสียงข้างมาก ตัดสินว่า ที่ประชุมจะเห็นชอบให้ดำเนินการไปตามทิศทางใด

ทำให้ นายเอกนัฏฐ์ พร้อมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้แนะนำให้ 8 พรรคร่วมไปตกลงกันให้ดีก่อนว่า จะดำเนินการเลือกนายกรัฐมนตรีต่อไปหรือไม่ เพราะ นายจุลพันธ์ ก็ยอมรับแล้วว่า การเสนอนายกรัฐมนตรี เป็นญัตติ แต่พรรคก้าวไกล กลับเห็นค้านว่า กระบวนการเลือกนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่เป็นญัตติ และเป็นไปตามรัฐธรรมนูญคำพูดจาก เว็บสล็อต ดีที่สุดในไทย

ท้ายที่สุดแล้ว ที่ประชุมไม่สามารถหาข้อยุติได้ ทำให้นายวันมูหะนัดนอร์ ต้องเปิดโอกาสให้ สส. และ สว. อภิปรายว่า การเสนอชื่อนายพิธา ถือเป็นญัตติหรือไม่ ตามการเสนอของนายอัครเดช ซึ่งเบื้องต้นได้กำหนดเวลาการอภิปรายไว้ 2 ชั่วโมง แบ่งเป็นฝ่าย 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล 40 นาที, ฝ่าย 10 พรรคร่วมรัฐบาลรักษาการปัจจุบัน 40 นาที และฝ่ายวุฒิสภา 40 นาที แต่สามารถขยายเวลาได้ เพื่อให้เกิดความรอบคอบ และไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง

 โหวตนายก- “สุทิน”เสนอชื่อ “พิธา”เป็นนายกฯ-รสทช. ลุกขึ้นแย้งผิดข้อบังคับ 41 ยื่นญัตติซ...